ทุนสถาปัตย์


CONTENT

  1. Update lists
  2. Introduction
  3. สิ่งที่จำเป็นในการสมัครทุน
  4. เกรด
  5. เวลาที่ใช้เตรียมตัว
  6. Recommendation letters
  7. กำลังใจ
  8. ทุนสถาปัตย์ที่ฟรี ออกให้ทุกอย่าง เรียงตามเดือนที่เปิด
  9. ข้อดีของการได้ทุน
  10. TOEFL/IELTS
  11. GRE
  12. CV
  13. การสมัครมหาลัย
  14. ค่าใช้จ่าย
  15. คำถามที่พบบ่อย

Update lists

July 27, 2017 – เรียบเรียงบางส่วนใหม่ เพิ่มเติมเรื่องค่าใช้จ่าย

March 10, 2017 – เรียบเรียงบางส่วนใหม่ เพิ่มส่วนคำถามที่พบบ่อย

August 8, 2015 – เพิ่มส่วนCV/updateส่วนสมัครมหาวิทยาลัย/เพิ่มตัวอย่างSOPที่ดี/เพิ่มตัวอย่างrecommendation letterที่ดี/แก้ภาษาบางส่วน/แก้ย่อหน้า/เพิ่มตัวอย่างหนังสือ

Introduction

เกี่ยวกับตัวคนเขียน จบป.ตรีสถาปัตย์ มหาวิทยาลัยแถวสามย่าน ทำงานบ.ออกแบบได้3ปี ได้ทุนก.พ. ไปเรียนผังเมืองที่ USA ก่อนได้ทุนนี้พลาดมาแล้ว2ทุน คือ Erasmus สาขา Urban Studies กับ Fulbright ยื่นขอเรียน Urban Design

เขียนบทความนี้เพราะมีคนถามบ่อย และคิดว่าเป็นประโยชน์กับสาขาสถาปัตย์ที่จริงๆหาทุนค่อนข้างยากและเสียบเปรียบชาวบ้านอยู่พอสมควรและเนื่องจากเราไม่ได้เกียรตินิยมตอนเรียน เกิน 3.00 มานิดหน่อยเท่านั้น จึงคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่อยากไปเรียนต่อแต่เกรดไม่สูงมาก ได้อ่านกระทู้พันทิปเกี่ยวกับทุนสถาปัตย์บางครั้ง จึงทำให้เริ่มเขียนรวมข้อสงสัยในการสอบทุน


สิ่งที่จำเป็นในการสมัครทุน

เกรด; SOP; กิจกรรมในชีวิตทั้งนอกและในห้องเรียน; พอร์ทโฟลิโอ; recommendation letters

อันดับหนึ่งคือเกรด

ควรรักษาให้ได้ต่ำสุด 2.80 เป็นอย่างน้อย ระยะปลอดภัยคือ 3.00 เนื่องจากทุนส่วนใหญ่ต้องการต่ำสุดเท่านี้ ส่วนที่แนะนำคือเกียรตินิยม ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร

อันดับที่รองลงมา คือสาขาที่จะเรียน

ถ้าเป็นทุนจากทางตะวันตกส่วนใหญ่ก็จะให้เขียน statement of purpose ตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้นเราควรมีภาพในใจของสาขาที่จะเรียน ควรตอบคำถามให้ได้ว่า

  • ทำไมจึงสนใจสาขานี้ เช่น เรียนครั้งแรกกับใคร แล้วทำไมจึงชอบ
  • สาขานี้สำคัญกับเราและประเทศอย่างไร
  • ทำไมต้องเป็นเรา ตรงนี้จะดีถ้าเรามีกิจกรรม ประกวดแบบมารองรับเยอะๆ ว่าเราไม่ได้เพิ่งมาสนใจเมื่อมีทุน แต่ว่ามีประสบการณ์มาพอตัวแล้ว
  • แผนอนาคตหลังเรียนจบ

ส่วนนี้สำคัญมาก คนที่คิดจะเอาทุนต้องเป๊ะเรื่องนี้มากกว่าคนอื่น ถึงไม่ได้เอาทุนอะไรก็ยังสำคัญอยู่ ขอใช้เวลาคิด เตรียมตัวนานๆ จะลองซ้อมกับเพื่อน พ่อแม่พี่น้อง อาจารย์ก็ได้ ต้องทำให้คนฟังไม่เกิดคำถามอะไรกับเราได้อีกในสิ่งที่เราจะเรียน พอเรียบเรียงได้คร่าวๆแล้วเราก็จะเอามาเขียน statement of purpose คร่าวๆตามที่ว่าไป

***** ทุกคนที่สมัครก็เขียนโดยมีเนื้อหารวมๆแล้วคล้ายๆกันทั้งสิ้น SOPที่ดีจึงควรโดดเด่นจากชาวบ้าน กรรมการอ่านแล้วจำได้

จะทำอย่างไรให้จำได้?

นอกจากเนื้อหาที่เขียนไปข้างบนว่าเราต้อง strong กับสิ่งที่เราคิดจะเรียนจริงๆ คือทุกอย่างเขียนแบบรูปธรรม ไม่ใช่นามธรรม เช่น เราชอบวิชานี้มากควรเขียนว่าเราได้Aจากวิชาประมาณนี้กี่ตัว และไปลงวิชาเลือก อยู่บ้านเฉยๆก็นั่งทำแบบ ภาษาและการเรียบเรียง SOP ต้องดี คิดว่าเป็นเหมือนบทละครเรื่องหนึ่ง บางทีก็เอาท่อนจบมาขึ้นก่อน บางทีก็เล่าจากกลางเรื่อง ไม่มีสูตรตายตัว แต่ต้องค่อยๆคิดว่าอะไรคือจุดแข็งของเรา SOPที่ดีสามารถทำให้เราเลือกมหาลัยดังๆได้ถึงแม้เกรดจะไม่ดีเท่าคนอื่นด้วย

ตัวอย่างSOPที่ใช้ยื่นเข้ามหาลัยดังแล้วประสบความสำเร็จ

https://admissionsource.wordpress.com/2007/07/26/successful-essays/

สิ่งสำคัญอันดับ 3 พอร์ทโฟลิโอ

ถ้าจะไปเรียนดีไซน์ตรงๆ สำคัญมาก ประมาณว่าเกรด 2.50 TOEFLห่วย GREห่วย ก็เข้ามหาลัยดังๆได้มาแล้ว ….แต่SOPห้ามกาก พอร์ทโฟลิโอจะสำคัญหลังเราได้ทุน เพราะทุนส่วนใหญ่ไม่ขอพอร์ทก่อน ยกเว้นบางอัน แต่เราควรทำเสร็จไว้ก่อนขอทุน เพราะจะช่วยให้เราสรุปเกี่ยวกับตัวเองได้ดีขึ้น ควรใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งปีในการทำ พอร์ทโฟลิโอไม่ใช่แค่การรวบรวมงานมาลงกระดาษ เราต้องชี้ให้เห็นว่า เราเสนองานนี้เพราะอะไร มีความน่าสนใจยังไง มันไม่ได้แสดงแค่ผลงานเก่าๆ แต่จะทำให้คนอ่านเห็นความสามารถในการเล่าเรื่องของเรา ความรู้ในการดีไซน์ (การเลือกสี เลือกฟอนต์ จัดองค์ประกอบ) และความเข้าในในงานของเราด้วย อย่าลืมว่าคนอ่านไม่ใช่อาจารย์ที่เคยตรวจงาน และไม่ใช่ตัวเราเอง …..มันคือกับดักอันใหญ่ที่ทำให้พอร์ทของหลายๆคนไม่ดีมากทั้งที่งานดี ถึงงานจะสวยแต่ถ้าไม่เล่าเรื่องดีๆ ……..มันก็จะไม่สวยมากนะ…….. คิดว่าจะเล่าเรื่องงานของเราให้คนอ่านที่ไม่จบสถาปัตย์ เข้าใจข้อดีของงานตัวเองได้ยังไง

ถ้าบอกว่าไม่มี ไม่ได้คิด ก็คิดสดๆเอาเลย ไม่มีข้อห้ามห้ามแก้งานของตัวเองแต่ประการใด หลายๆงานเราต้องทำตีฟใหม่ คิดใหม่หลายจุดมาก จึงใช้เวลานาน

พอร์ทที่ดี ดูได้จาก

https://www.google.co.th/webhp?hl=en#hl=en-TH&q=successful+architecture+portfolio+to+harvard+issuu หรือลองเสิร์ชอะไรที่คล้ายๆกันดูได้


เกรด

เกรดกากแต่อยากขอทุนทำยังไง? อันดับแรกไม่ควรต่ำกว่า2.80-3.00 จะทำให้หาทุนยากขึ้นมาก รวมถึงจะส่งผลไปถึงตอนสมัครมหาลัยด้วย มหาลัยในUSAหลายแห่งระบุว่าหากต่ำกว่า3.00จะบังคับสอบGREซึ่งเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์เป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ได้เกิน3.00แต่ไม่ถึงเกียรตินิยม

  • อาจจะต้องหาเหตุผลให้เจอว่าทำไมเกรดเรากาก เช่นปี1ปรับตัวไม่ได้ วิชาเลือกคะแนนไม่ดี
  • ใช้พอร์ทและSOPทดแทน ทำให้คนอ่านใบสมัครยอมรับได้ว่าเราได้เกรดน้อยแต่มีฝีมืออย่างอื่นนะ
  • ถ้าเป็นค่ายUSA จะมีGREมาช่วย สอบให้ได้มากกว่าเปอร์เซนไทล์ที่50ทั้ง2ส่วนจะช่วยตอนสมัครมหาลัยเยอะมาก

เกรดที่เมืองนอกค่อนข้างเฟ้อกว่าไทยนิดๆ เฉลี่ยคนสอบเข้าเรียนโทอยู่ที่3.3-3.4 ในขณะที่ไทยน่าจะประมาณ3.1-3.2 เวลายื่นจะเสียเปรียบหน่อยถ้าใครเกรดอยู่ประมาณนี้ ส่วนคนที่เกรดดีอยู่แล้วอย่าเพิ่งประมาท ไม่ได้แปลว่าเกรดยิ่งเยอะยิ่งดี แบบ3.4โอกาสต่ำกว่า3.6มันไม่ง่ายแบบนี้ถ้าไม่ใช่ที่1-2คณะ ถ้าไม่ได้ต่ำกว่า3.3 การรับรู้ของคนมันก็พอๆกันหมด เอาเวลาไปทำอย่างอื่นเสริมจะดีกว่า คือถ้าเกรดดีแต่GREกากมาก SOPกากมาก พอร์ทก็งั้นๆ เกรดก็อาจไม่ได้ช่วย

*อังกฤษ ญี่ปุ่น ดูเกรดมากกว่าฝั่งอเมริกา


 เวลาที่ใช้เตรียมตัว

ก่อนยื่นขอทุนประมาณ 1 ปี ทำพอร์ทครึ่งปี สอบอังกฤษพร้อมเตรียมSOP, CVอะไรพวกนี้อีกครึ่งปี ใครจะทำอะไรก่อนหลังก็ได้ แล้วแต่สไตล์ จะมีทุน2ประเภทคือหามหาลัยให้ได้ก่อนและหามหาลัยทีหลัง

หามหาลัยให้ได้ก่อน

1ปีเตรียมตัวและบวกเวลาติดต่อโปรเฟสเซอร์ประมาณ3เดือนเป็นอย่างน้อย จะเร่งให้อยู่ใน1ปีก็ได้ ถ้าไม่ทันแล้วจริงๆ

จริงๆแบบหามหาวิทยาลัยก่อนจะค่อนข้างซับซ้อนกว่า เพราะแต่ละที่ก็มีข้อบังคับต่างกัน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องออกไปก่อนโดยไม่รู้ว่าจะได้ทุนหรือไม่อาจจะทำให้ลำบากขึ้นสำหรับคนที่ต้องการทุนเต็มเท่านั้น

หามหาลัยทีหลัง

หลังจากได้ทุนจะมีเวลาประมาณ 1 ปีหามหาวิทยาลัย ใช้เวลานี้สอบTOEFLใหม่ สอบGRE (ต้องเตรียมตัวประมาณ2เดือนอย่างน้อย ดีที่สุดคือ4เดือนขึ้นไป) เตรียมเอกสารสำหรับแต่ละที่ ยื่นมหาลัย ….หมดเวลา พอมหาลัยประกาศผลก็เหลือเวลาประมาณ6เดือนให้เตรียมเอกสารขอวีซ่า ซึ่งบางที่ก็นานมาก และต้องใช้พลังงานในการตามเอกสารสูง จัดโน่นนี่


 Recommendation letters

คือจดหมายแนะนำจากอาจารย์หรือคนที่รู้จักเรา โดยทั่วไปจะใช้ทุน/มหาลัยละ2-3ฉบับ ควรเป็นคนที่รู้จักเราจริงๆ เช่น เจ้านายที่ทำงาน อ.ตรวจทีสิส มากกว่าอ.ดังๆอย่างเดียว

เพราะอะไร?

เพราะถ้าเขาไม่รู้จักเราจริงๆ อ.ก็เขียนให้ได้แค่ว่า คุณเป็นคนขยัน ตั้งใจเรียน เข้าทุกคาบ …..คือทุกคนที่มายื่นทุน ยื่นมหาลัยใครมันก็ขยันทั้งนั้นแหละ recommendควรเป็นอะไรที่สร้างความต่างให้เราจริงๆ recommendที่ดีสามารถเปลี่ยนจากคนธรรมดาเป็นเทพได้ ลองเปรียบเทียบ2ตัวอย่างนี้ดู

  1. คุณX เป็นคนขยัน ตั้งใจเรียน เข้าทุกคาบ ผมแนะนำXให้กับมหาวิทยาลัยของคุณ
  2. ตอนแรกคุณXเรียนได้ช้ากว่าคนอื่น แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้ พยายามเรียนด้วยตัวเองและมาปรึกษาผมหลังคาบเสมอถึงแนวทางการเรียน หลังจากนั้นเขาก็ทำได้ดีขึ้น นอกจากนั้น เขายังช่วยสอนเพื่อนและรุ่นน้องให้เข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้นโดยใช้ประสบการณ์ที่รู้ว่าตัวเองไม่เข้าใจอะไรมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งหมดทำให้ผมประทับใจในความขยัน พยายาม และยังมีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อคนอื่นอีกด้วย ผมคิดว่าXจะเป็นผู้เรียนที่ดี และสามารถแบ่งปันความรู้กับชั้นเรียนซึ่งจะเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัยของคุณ

คนที่จะเขียนแบบ 2 ได้ จะต้องรู้จักเราดีพอตัว และต้องตั้งใจrecommendเราจริงๆด้วย อย่าเผลอยึดติดกับภาพลักษณ์ว่าอ.คนนี้ดัง และใหญ่ ถ้าเขาไม่รู้จักเราจริงๆก็เท่านั้น *ญี่ปุ่นชอบให้คณบดีrecommend อันนี้เป็นข้อยกเว้น และไอ้ที่ตลกที่สุดคือให้ใครก็ไม่รู้มา recommendให้ เช่นให้เจ้าสัวCP เขียนให้ เพราะใช้เส้นบุพการี ขอเตือนว่าอย่าทำเด็ดขาด นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้วอาจจะทำให้เราดูไม่ดีด้วย ตอนขอให้อ.เขียนอย่าลืมเอาพอร์ท ทรานสคริปต์ ฯลฯ ให้อ.ด้วย และเล่าให้เขาฟังถึงเหตุผลในกรขอทุน การไปเรียนให้ดีๆ เพราะเขาอาจจะลืมเราไปแล้ว

บางครั้งอาจารย์บางคนจะขอให้เราเขียนมาให้ และให้เขาเซ็นเพราะไม่มีเวลา แบบนี้มีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อเสียคือเราต้องเขียนเอง และเขียนอาจจะไม่ดีเท่าเขา แต่ข้อดีที่ดีมากๆคือเราสามารถเขียนบรรยายสิ่งที่ขาดไปจาก SOP ได้ ใครเจอกรณีแบบนี้ เราขอแนะนำให้เขียนร่างเกี่ยวกับตัวเอง (จากมุมมองของอาจารย์คนนั้น) ก่อน เอาให้เว่อร์ๆเข้าไว้ อย่าลืมว่า recommendation letter ไม่มีใครเขาเขียนด่ากันถ้าไม่เกลียดกัน หลังจากนั้นก็เอาไปให้ฝรั่งตรวจ ปกติราคาจะอยู่ที่ $25/ชม. การตรวจแบบนี้ไม่ใช่เฉพาะตรวจแกรมม่า แต่เขาจะดูเรื่องของคุณภาพในการเขียนให้ด้วยว่าเราเขียนได้ลื่นไหลไหม หรือควรเพิ่มเติมจุดที่ขาดอะไรบ้าง ซึ่งอาจต้องตรวจมากกว่า 1 ครั้ง

ตัวอย่างการเขียนrecommendและขั้นตอนการเขียน อ่านแล้วใช้กับSOPเราได้ด้วย

Click to access letter.pdf

หรือหนังสือเล่มนี้

http://www.amazon.com/How-Write-Powerful-Letters-Recommendation/dp/1930572050

nash_social_share.0

(recommendationของจอห์น แนช ก่อนเข้าPrinceton …….แบบไม่รุ่งก็ร่วงไปเลย)


กำลังใจ

เขียนเรื่องนี้เพราะขอทุนใช้พลังใจสูงมาก บางคนสอบอยู่5ปีกว่าจะได้ หากคิดว่าจะขอทุนจริงๆ ควรเผื่อเวลา3ทุ่ม-ตี1ทุกวันไว้ทำงานเป็นเวลา1ปี-2ปี …คิดเสียว่าทำกิจกรรมชมรม ไม่อยากให้คิดว่ายาก มันเป็นเรื่องของระยะเวลามากกว่า คนที่ได้ทุนอาจไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด แต่เป็นคนที่ทนทำอะไรซ้ำๆได้นานๆ และอย่าเลือกเพียงทุนเดียว ประเภททุนโน้นก็ไม่ดี ทุนนี้ก็ไม่เอา ฉันไม่อยากใช้ทุน ฯลฯ เหตุผลคือคนส่วนใหญ่ที่ได้ทุน ไม่ได้สอบแค่ทุนเดียวกัน โดยมากจะยื่นประมาณ2-3ทุน คิดเสียว่าลองๆดูหลายๆสนามจะดีกว่า เพราะคู่แข่งเราก็ไม่ได้อ่อนขนาดที่ว่าไปยื่นที่ไหนแล้วเราก็จะติดเลย ….แข่งกีฬายังต้องซ้อมก่อนหลายๆรอบ ที่สำคัญ ขอทุนฟรีคงเลือกอะไรที่อยากได้เป๊ะๆ 100%ไม่ได้ ดูเอาอันที่เราพอโอเคก็ขอให้ลองดูดีกว่าไม่ลอง จุดที่จะลำบากใจคือเวลาถูกปฏิเสธ ถึงจะเป็นทุนที่ไม่ใช่อันดับ1ในใจเรา แต่มันจะทำให้เรากดดันกับตัวเอง และทุนต่อๆไป ขอให้ทำใจให้แข็งไว้ เป็นเรื่องธรรมดา


ทุนสถาปัตย์ที่ฟรี เรียงตามเดือนที่เปิด

ม.ค.-ก.พ.

ทุนFranco Thai (ของฝรั่งเศส)

ไม่ได้อ่านรายละเอียดมาก แต่ใครเกรดเกิน3.00น่าจะสมัครได้

มิ.ย.

MEXT (รัฐบาลญี่ปุ่น)

หมดเขตสิงหาคม มี 2 แบบ แบบธรรมดาและแบบใหม่ชื่อ G30 แบบธรรมดา เกรด3.25ขึ้นไป ถ้าเกรดน้อยกว่านั้นก็ต้องสอบวัดระดับ ต่ำสุดที่สอบได้คือ2.80 แต่ต้องสอบได้N1แทน ไม่ว่าจะไปเรียนอะไรด้วยความที่สถาปัตย์เป็นสายวิทย์ ต้องสอบเลข อังกฤษ ฟิสิกส์ เคมีหรือชีวะ ความยากเท่าตอนม.ปลาย มีตัวอย่างข้อสอบในเว็บ รับทั้งหมดประมาณ50คน(เฉพาะสายวิทย์) คัดรวมกับสายศิลป์แล้วจะเหลือสุดท้าย35คน ถ้าจะสอบทุนนี้ควรหยุดอ่านหนังสืออยู่บ้านเฉยๆซักปี เด็กสถาปัตย์ที่ได้(ที่รู้มี2คน)ใช้วิธีนี้ เพราะส่วนใหญ่สายวิทย์ที่สอบได้คือวิศวะ G30 คือมหาลัยดังของญี่ปุ่น30แห่งที่มีภาคอินเตอร์มารวมกันเป็นส่วนหนึ่งของทุน ไม่ต้องสอบแบบข้างบน ใช้คะแนนTOEFL/IELTSแทน แต่ต้องมีstudy planที่ชัดมาก ระดับว่าจะอยู่กับโปรเฟสเซอร์คนไหน จะทำเรื่องอะไร เดือนไหนทำอะไรบ้างแบบนั้นเลย และคนrecommendต้องเป็นระดับคณบดีด้วย ใครจะเอาทุนนี้ท่านต้องมีสายสัมพันธ์อันดีมากกับทั้งอ.ที่ไทยและที่ญี่ปุ่น (ซึ่งเราคิดว่าถ้าเป็นเด็กในสังกัดอ.ในมหาลัยอยู่แล้วจะได้เปรียบกว่าเยอะ)

ส.ค.

Chevening (รัฐบาลอังกฤษ)

ควรได้เกียรตินิยม และมีประสบการณ์ทำงาน ค่อนข้างยากพอๆกับ Fulbright

DAAD (รัฐบาลเยอรมนี)

ปิดรับสมัคร 10 ตุลาโดยประมาณ GPA>3.00 TOEFL/IELTS>80/6.0 เป็นทุนสำหรับสถาปนิกและนักออกแบบโดยเฉพาะ เข้าเว็บDAADจะมีหมวดแยกอยู่ ส่งพอร์ทประมาณ5งานขึ้นไป ทุกงานต้องเป็นงานสถาปัตย์ มีแปลนรูปด้านรูปตัดครบ ออนเสกล ถ้าทำเป็นกลุ่มต้องระบุให้ชัดเจนว่าใครทำอะไร ในเว็บจะมีบอกอย่างละเอียด สาขาที่เลือกเรียน จะค่อนข้างเฉพาะทางกว่า US เช่น USจะรวมสถาปัตย์เป็นM.Archทั้งหมด แต่เยอรมันจะแยกเป็นสาขาย่อยๆไปเลย เช่น Lighting design, Facade Design แต่ละสาขาก็จะมีมหาวิทยาลัยรับผิดชอบ เลือกมหาวิทยาลัยเองไม่ได้ต้องเลือกจากสาขาที่จะเรียน มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการทุนหาได้ในเว็บDAADเอง บางปีก็มีแจกหนังสือรวมทุกสาขาที่งาน OCSC Expo ปลายเดือนตุลา ตัวเราไม่เคยยื่นเพราะทำพอร์ทตามกำหนดไม่ทัน ใครสนใจเยอรมันก็ลองโหลดใบสมัครมาดูก่อนนานๆ เพราะต้องเตรียมตัวนานอยู่….ตรงพอร์ทนี่แหละ ข้อดีคือรัฐบาลเยอรมันค่อนข้างใจดี ให้เงินใช้จ่ายเยอะ

พ.ย.

Erasmus Mundus (รัฐบาลยุโรป)

มีหลายสาขามาก คนรับคือเจ้าของหลักสูตรย่อย Erasmus เป็นแค่ชื่อที่มารวมตัวกันเฉยๆ แต่ละหลักสูตรเปิดปิดไม่พร้อมกันต้องเข้าไปดูในเว็บ Erasmus ว่ามีสาขาอะไรบ้างเอง แต่ของที่พอจะเกี่ยวกับสถาปัตย์ชื่อ

  1. 4Cities เรียน Urban Studies 4ประเทศ 6 มหาลัย

GPA>3.00 TOEFL>80 IELTS>6.0 ถ้าเรียนอินเตอร์มาเกิน2ปีไม่ต้องสอบอังกฤษ รับปีละ8คน จะไม่มีคนจากประเทศเดียวกันได้เกิน2คน ดูเผินๆเหมือนง่าย เพราะเป็นสาขาไม่ค่อยฮิตมาก …แต่คนสมัครเยอะมาก อัตราแข่งขัน 800:8 ตอนสมัครเมื่อปี 2014

  1. Planet Europe

เรียนด้านสิ่งแวดล้อม ไม่รู้รายละเอียดมากเพราะเราไม่ได้สมัครค่ะ

ก.พ. (รัฐบาลไทย)

เปิดวันจันทร์กลางเดือนพ.ค. เสมอ และเปิดรับสมัครแค่ 2 อาทิตย์ GPA>2.75 (ถ้าป.ตรีเรียนสายศิลป์ >3.00) จะแบ่งย่อยเป็นทุนก.พ.จริงๆ/ไทยพัฒน์/รัฐบาลจีน/ทุนกระทรวงวิทย์ ตอนสมัครเราจะเลือกได้ 2 อันดับ จะเลือกอันดับเดียวก็ได้ถ้าไม่มีสาขาที่คิดว่าโอเค แต่ถ้าเลือก2อันดับต้องเลือกในหมวดเดียวกัน1อันดับเท่านั้น สมมติเลือกก.พ.หรือกระทรวงวิทย์ทั้ง2อันดับเลยไม่ได้ หากเราผ่านสัมภาษณ์ก็จะได้อันดับ1ที่เราเลือกไว้ก่อนเหมือนสอบเอนทรานซ์ คือไปขอเขาเลือกอันดับ2ไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นต้องคิดตั้งแต่ตอนเลือกเลย

จริงๆงบที่จะออกให้เราเป็นงบจากหน่วยงานที่ตั้งทุน แต่ฝากให้ก.พ.ช่วยจัดสอบให้เพราะก.พ.คือHRของราชการ ดังนั้นทุนกระทรวงวิทย์ก็คือทุนที่กระทรวงวิทย์เป็นคนออกให้ แต่ฝากรับผ่านก.พ.นั่นเอง ความต่างกับทุนก.พ.จริงๆน่าจะอยู่ที่สาขาที่เรียนและสถานที่ที่จะต้องไปบรรจุ จะเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ อย่างปีที่แล้วที่สถาปัตย์สอบได้ของกระทรวงวิทย์คือออกแบบไม้ wood design (ใครชอบแสกนดิเนเวีย ชอบอะไรแบบนี้น่าลองไปสมัคร) บรรจุตามมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นต่างจังหวัด *ทุนกระทรวงวิทย์ชอบชวนคนไปญี่ปุ่นเพราะศิษย์เก่าจบญี่ปุ่นเยอะ และมักจะเป็นโท-เอก

ประสบการณ์ส่วนตัวคือ ตอนเรียนจะจบปี5ก็เคยมีทุน lanscape บรรจุกรมราชทัณฑ์มา1ตำแหน่ง โดยรวมคือทุนที่ให้กับสาขาสถาปัตย์โดยตรงนั้นน้อยมาก ยิ่งถ้านับแต่สายดีไซน์อย่างเดียว ผังเมืองและสาขาใกล้เคียงไม่นับเลยนี่อาจจะ5ปีมีตำแหน่งเดียว ดังนั้นควรจะต้องตั้งใจดูประกาศทุกปี อย่าเลือกมากเกินไปเพราะมาไม่บ่อยพอจะให้เลือก

สมัครแล้วก็สอบข้อเขียน จะมี2วิชา อังกฤษและทดสอบความสามารถทั่วไป อย่างละ100ข้อ ใช้เวลา2ชม.

  • อังกฤษ – ยากกว่า CUTEP มากๆๆๆ เวลาก็น้อยกว่า จะมีศัพท์GREหลุดมาประปราย
  • ความรู้ความสามารถทั่วไป – คือเลข+ภาษาไทย เลขมีทั้งยากและง่ายสลับๆกัน เนื้อหาไม่เกิน ม.ต้น เน้นเร็ว ภาษาไทยจะมีทั้งศัพท์และการใช้เหตุผล เช่น ผู้หญิงทุกคนมีตา มานีมีตา มานีเป็นผู้หญิงถูกหรือไม่ สรุปจริงๆมันคือ GRE ภาคภาษาไทย

อันนี้เป็นข่าวลือ ว่าใครได้ประมาณ 60-70 คะแนนขึ้นไปทั้ง2ส่วนก็มักจะได้ผ่านเข้าไปสัมภาษณ์ ตอนเราทำข้อสอบลองนับข้อในห้องสอบก็ได้ประมาณนั้น

รอบสัมภาษณ์เอา5คนที่คะแนนสูงสุดของหน่วยที่เลือกและ5คนนั้นต้องคะแนนเกินmeanขอผู้เข้าสอบทั้งหมดด้วยแล้วแต่ว่าอะไรจะถึงก่อน

อัตราการแข่งขัน มีตั้งแต่ 250:1 จนถึง 10:1 อันไหนฮิตหน่อยก็แข่งกันมากหน่อย อย่างพวกMBAก็โคตรฮิต ส่วนสถาปัตย์ก็กลางๆบางอันก็ค่อนไปทางน้อย ตอนที่เราสอบ อัตราการแข่งขัน 70:1

ผ่านเข้าไปสอบสัมภาษณ์ก็จะเจอคนสัมภาษณ์5คน เป็นคนจากก.พ./คนจากหน่วยงาน/ครูภาษาอังกฤษ/นักจิตวิทยา/อ.ที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เราเรียน

อย่างที่น่าจะทราบกันอยู่แล้ว ทุนก.พ.ต้องกลับมาใช้ทุนตามหน่วยงานที่เขียนในใบสมัคร เป็นเวลา2เท่าของเวลาที่เรียน หรือชดใช้เงิน3เท่าของที่เรียนถ้าจะไม่กลับมาใช้ทุน แต่ละหน่วยงานก็มีบรรยากาศและความรับผิดชอบต่างกันไป เหมือนกับคนละบริษัทเพียงแต่มีสวัสดิการและระเบียบเหมือนกันเท่านั้นเอง บางแห่งอาจจะทันสมัยสุดๆ บางแห่งก็ตามโลกไม่ค่อยทัน จึงควรดูหน่วยงานที่จะบรรจุก่อนสมัครกันก่อน

เมื่อได้ทุนแล้วต้องมีผู้ค้ำประกันก่อนได้รับทุน ในระยะหลังมานี้ ก.พ. บังคับให้เป็นพ่อแม่ของเราก่อนเท่านั้น เพราะคิดว่าน่าจะช่วยให้คนที่ต้องการจะหนีทุนลังเลก่อนหนีบ้าง ดังนั้นหากใครหนีทุน พ่อกับแม่ก็จะกลายเป็นผู้ใช้ทุน 3 เท่านั้นแทนเรา

 

ทุน UIS

อันนี้สำหรับคนเรียนปี5 ถ้าสอบได้ก็จะได้ทุนเรียนฟรีครอบคลุมปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยที่กำลังเรียนอยู่ แล้วก็กลับไปบรรจุที่หน่วยงานที่ระบุไว้ ทำได้ซักปี-2ปีก็จะได้ทุนป.โท ต่างประเทศหรือในประเทศแล้วแต่เรา คือเป็นข้าราชการก่อนไปเรียน

ข้อดีของทุน UIS ก็คือ 1. เราได้นับเวลารับราชการด้วยขณะไปเรียนต่างประเทศ 2. ได้เงินเดือนในฐานะข้าราชการเพิ่มจากค่ากินค่าอยู่ทุนก.พ. สำหรับบางเมืองที่ค่าครองชีพสูงมาก ถือว่าช่วยแบ่งเบาภาระไปได้เยอะ

หากพูดถึงข้อเสีย ก็อาจจะเหมือนทุน ก.พ. ก็คือ 1. ต้องเป็นข้าราชการ 2. ไม่รู้จะมีเปิดสาขาสถาปัตย์เมื่อไหร่ 3. คนสอบเยอะกว่าที่คิดมาก

ธ.ค.

Fulbright (รัฐบาลสหรัฐอเมริกา)

เปิดถึงประมาณเดือนเมษา และมาเป็นทุนสุดท้ายของปี ปิดรับสมัครทีหลังสุดด้วย GPA >3.00; TOEFL>80; SOP 2ข้อ คือเหตุผลที่อยากเรียนสาขาที่ขอทุนและประวัติชีวิต; Recommend 2 ฉบับ เป็นทุนที่เตรียมเอกสารน้อยมาก และไม่ต้องส่งพอร์ทไป ผู้ดูแลบอกว่า มันฟ้องอยู่ในSOPคุณแล้ว คือถึงจะดีไซน์เก่งยังไงแต่เขียนหนังสือไม่รู้เรื่องก็ไม่ผ่านนะจ๊ะ….. แต่ยากมากประมาณ 10 ดาว ที่ 1 คณะก็พลาดกันมาหลายคนแล้ว

โดยรวมจะให้ทุนสาขาสถาปัตย์และผังเมืองประมาณปีละ 1 คน อัตราแข่งขันประมาณ 200:8 รับปีละไม่เกิน9คน และจะมีคนยื่นประมาณปีละ 200 กว่าๆ

ข้อเสียของทุนฟุลไบรท์ให้เงินไม่พอครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตลอด 2 ปี อย่างปี 2014-2015 ที่เราสมัคร ปีแรกให้ $30,000 ปีที่สองให้ $17,000 ในขณะที่ค่าเทอมมหาวิทยาลัยรัฐบาล คุณภาพโอเคของอเมริกาก็ปาเข้าไปปีละ $22,000 แล้ว ยิ่งถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนจะยิ่งแพงกว่านี้ ยังไม่รวมถึงค่ากินค่าอยู่ด้วย จุดประสงค์เขาคือให้ดิ้นรนหาทุนจากมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งสำหรับคนที่งบจากทางบ้านไม่พอสนับสนุน นี่คือจุดอันตรายมากของทุนนี้ ปีนี้ได้ยินมาว่าเขาเปลี่ยนมาให้เงินเพิ่มขึ้นบ้าง แต่เราคิดว่าโดยรวมก็ยังไม่พออยู่ดี

ข้อดีของทุนนี้ก็คือจะมีคอนเนคชั่นกับผู้ได้ทุนฟุลไบรท์ทั่วโลก มีกิจกรรมเยอะแยะ แต่ลองชั่งน้ำหนักดีๆ ในกรณีที่ทางบ้านไม่มีงบพอจะช่วยเหลือกรณีที่หางานทำที่อเมริกาไม่ได้

ทุนที่ไม่แน่ใจวัน

ทุนรัฐบาลแคนาดา


ข้อดีของการได้ทุน

นอกจากประหยัดเงิน ก็มีผลทำให้ตอนเลือกมหาลัยได้มหาลัยดีๆง่ายขึ้น (ยกเว้นระดับ Ivy League หรือ Ox-Bridge 90%ของคนสมัครได้ทุนมาจากประเทศตัวเองอยู่แล้ว)


TOEFL

ขอเขียนแค่โทเฟล ไอเอลไม่เคยสอบค่ะ

ควรสอบกี่ครั้ง

มีตั้งแต่1-14ครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้กี่คะแนน เจ้าของสถิติ14ครั้งนี่คือสอบตั้งแต่ได้ยังไม่ถึง80 จนถึง100+ และสุดท้ายได้เรียนMIT เป็นไปตามกำลังทรัพย์ความขยันแต่ให้เผื่อไว้ว่าควรสอบประมาณ3ครั้ง ครั้งแรกไปลองสนาม เพื่อดูว่าเราอ่อนพาร์ทไหนจะได้กลับมาแก้ถูก แต่หากไม่ได้คะแนนที่ต้องการ (110+ อะไรแบบนี้) ก็อย่าเสียเวลากับมันมากเกินไป โทเฟลไม่ใช่ทุกอย่าง เอาเวลาไปทำจุดอื่นดีกว่า คือถ้ามหาวิทยาลัยต้องการ80 จะได้85,100,114อะไรก็มีค่าเท่ากันคือผ่านเกณฑ์เป็นพอ

ควรได้คะแนนเท่าไหร่

ทั่วไป ควรได้80+ สำหรับมหาวิทยาลัยระดับดี (top50 มักเรียกอยู่ที่90-92+) และระดับ top10 เช่น Ivy League อยู่ที่100+ บางทีกำหนดคะแนนขั้นต่ำของทุกพาร์ทด้วย การเรียกคะแนนของมหาวิทยาลัยในอเมริกามี2ส่วน คือของมหาวิทยาลัยและของภาค ของภาคคะแนนมักจะสูงกว่าของมหาวิทยาลัย ให้เช็คให้ดี

ถ้าคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์

ไม่ผ่านเกณฑ์มี2แบบ ไม่ผ่านเกณฑ์ของทุนและตอนยื่นมหาวิทยาลัยไม่ผ่านเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย อันนี้ไม่ได้ โดนตัดสิทธิ์ทันที แต่ถ้าคะแนนต่ำกว่าขั้นต่ำของภาควิชาให้ลองเจรจาดู บางทีถ้าส่วนอื่นดีเขาก็รับเหมือนกัน ไม่ไหวจริงๆให้ลองขอร้องภาควิชาดู ได้ผลกว่าที่คิด

การสอบ

ค่าสอบครั้งละ6000 สอบแต่ละครั้งต้องห่างกันประมาณเดือนครึ่ง เหตุคือคนจีนและเกาหลีชอบสมัครสอบติดๆกันหลายๆครั้งหวังฟลุค และETS(คนออกข้อสอบ) พบว่ามันไม่ต่างจากเดิมหรอก(นะมึง) เสียเวลาตรวจเปล่าๆ มี4พาร์ท สำหรับคนไทยยากที่สุดคือ speaking (คนไทยส่วนใหญ่อยู่ที่15-17คะแนน) และ writing

Speaking

วิธีฝึกให้โหลดโจทย์เก่ามาดู ลองซ้อมตาม

(จะเสียเงินซื้อคอร์สเขาก็ได้ แต่ของฟรีก็พอเหมือนกัน)

แต่ละข้อควรพูดให้ได้ประมาณ100คำขึ้นไป (100คำ/1นาที) ถ้าความเร็วเท่าฝรั่งปกติคือ130คำ/นาที ตอบให้เข้าstructureทุกข้อ คือต้องวางแผนมาว่าจะตอบยังไง อย่าพูดไปเรื่อยๆ เขาไม่ได้ดูแค่พูดสำเนียงดี คล่อง เขาฟังจากเนื้อหาด้วย

โจทย์ตัวอย่างดูที่ http://qna.educouncil.org/Tests_and_Results/nZxyNXyzXzZ.html

ให้ลองซ้อมดูให้ครบทุกหมวดก่อน …..บางข้อเจอของจริงภาษาไทยยังคิดไม่ออกเลย

Writing

พาร์ทเขียนจะมี2ข้อใหญ่ ข้อแรกให้เราสรุปสิ่งที่อ่าน+ฟัง อย่าเขียนเกินจากที่โจทย์สั่ง จะโดนหักคะแนน ข้อสองเขียนเกี่ยวกับตัวเอง อันนี้ยิ่งเยอะยิ่งดี

ให้ซื้อหนังสือ  Barron’s TOEFL Writing เล่มละ200+บาทไทยมาลองอ่าน เพราะมีตัวอย่างให้ดูว่าเขียนประมาณไหนจะได้กี่คะแนน

9786165274623

โจทย์ตัวอย่างดูที่ https://www.notefull.com/content.php?pgID=306 หากอยากได้คะแนนดีให้เขียนให้เข้าstructure คือ

  • คำตอบ เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย เอาให้ชัดๆ อย่ากั๊ก
  • เหตุผลสนับสนุน 3เหตุผล
  • ตัวอย่างสนับสนุนเหตุผลทั้ง3เหตุผล อย่างละประมาณ2ตัวอย่าง

และให้ใช้ transition words เยอะๆ เช่น and, but, so, in the other way, first, second, last, to sum up….. ปัญหาคืออย่าไปคิดว่าคนอ่านจะรู้เองว่าเราจะสื่ออะไร เช่น

I went to school late yesterday. My teacher punished me.

มนุษย์ปกติก็คิดได้ว่า เพราะไปโรงเรียนสายจึงถูกลงโทษ แต่มันไม่ใช่การเขียนที่ดี ควรเชื่อมประโยคให้เรียบร้อย

I went to school late yesterday, hence my teacher punished me. หรือ I was punished by my teacher because I went to school late yesterday.

ตัวอย่าง transition words

http://www.smart-words.org/linking-words/transition-words.html

ท่องไว้เยอะๆ ดูการใช้ด้วย

สิ้นหวังคะแนนไม่ขึ้น

แนะนำเรียน Kaplan กับ Princeton Review (อันหลังดีจริง แต่แพงมากๆๆๆ ประมาณว่าหลังจบคอร์สคะแนนขึ้น+15คะแนน แต่ราคาประมาณ40000ต่อคอร์สได้มั้ง…..)

80คะแนนนี่ประมาณไหน

ถ้าพูดรู้เรื่อง เขียนพอได้ไม่ตรงแกรมม่าแต่ยังอ่านเข้าใจ ส่วนใหญ่จะได้เกิน80 (แต่ต้องทำให้ทันด้วยนะ ดังนั้นถ้ากะเอา80+ เอาให้ทันก่อนแกรมม่าถูก) แต่ถ้าจะเอา100+ ต้องแกรมม่าถูก ศัพท์เยอะด้วย


 GRE

GRE คืออะไร

คือแบบทดสอบกลางสำหรับคนที่จะเรียนต่อโท-เอกทุกคนในอเมริกา แต่บางทีประเทศอื่นก็ขอเหมือนกัน ทุกคณะที่ไม่ใช่บริหารธุรกิจ คล้ายๆGMAT แต่GMATเลขจะยาก ภาษาง่ายกว่า กลับกันGREเลขง่าย ภาษายาก

แบ่งเป็น 3 parts: Quantitative, Verbal, Analytical Writing คะแนนต่ำสุดแต่ละพาร์ท140 สูงสุด170 ยกเว้นAnalytical Writingต่ำสุด0 สูงสุด6.0 140 คือไม่ได้สอบ หรือไม่กาเลย

คะแนนจะออกเป็นระบบpercentileด้วย สมมติว่าเราได้Verbal 151/170 อยู่ที่51th percentile แปลว่าเราเก่งกว่าคน51คนจาก100คน รวมคนอเมริกันด้วย ยิ่งเยอะก็คือยิ่งเก่งกว่าคนอื่น

2 พาร์ทคือ VerbalและQuantitativeควรได้รวมกัน300 ต่ำกว่านั้นจะดูไม่ดี

การสอบจะเป็นระบบadaptive คือข้อแรกๆมีคะแนนมากกว่าข้อหลังๆในชุดเดียวกัน ถ้าทำข้อแรกได้เยอะ ข้อสอบมันก็จะออกข้อยากกว่าเดิมมาให้ แต่ถ้าทำไม่ได้ ข้อหลังๆก็จะง่ายขึ้นและคะแนนเราก็จะน้อยลง

ความสำคัญ

อยู่ที่สาขาที่เราจะเรียน ถ้าสายดีไซน์เพียวๆก็ไม่ค่อยสำคัญมากเพราะดูพอร์ทเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นสายที่ใช้วิชาการด้วยอย่างสายพลังงาน(ใช้quantiเยอะ) ผังเมือง(ใช้verbalเยอะ) ก็มีความสำคัญ คือถ้าได้น้อยมาก มันก็แสดงอะไรบางอย่างเหมือนกัน

Verbal

สอบคำศัพท์และการจับใจความ คำศัพท์ที่จะออกมีประมาณ12000คำแบบไม่ซ้ำ (dogกับdogsนับเป็น1คำ) และยากกว่าTOEFLแบบคนละโลก ส่วนคำศัพท์มี10จาก20ข้อ/1ชุดข้อสอบ หากอยากได้ส่วนนี้เต็มควรท่องให้ได้ประมาณ3000คำ (ถ้าจะเอาคะแนนพอใช้ต้องท่องให้ได้1000คำเป็นอย่างน้อยที่สุด)

แนะนำ Princeton Verbal Workoutเล่มสีเหลือง เคยซื้อที่เอเชียบุค

http://www.amazon.com/Verbal-Workout-Edition-Graduate-Preparation/dp/0804125015

51mwz3BuhcL._SX258_BO1,204,203,200_

หนังสือติวพวก Barron’s จะแนะนำ 333คำที่ออกบ่อย แต่จากประสบการณ์ ไม่ค่อยช่วยแต่ก็ต้องท่องอยู่ดีท่องยังไง จำๆๆๆแหลก ไม่ต้องคิดอะไรเลย

อีกพาร์ทคืออ่านจับใจความ ซึ่งส่วนนี้เราว่ายากกว่าคำศัพท์ คำศัพท์ท่องได้ก็ตอบได้ แต่อ่านนี่ถ้าไม่มีสมาธิจริงชอบหลุด เป็นพาร์ทที่คนไทยส่วนใหญ่ได้คะแนนน้อย ขอแนะนำว่าควรได้145/170ขึ้นไปถึงจะดูไม่น่าเกลียดมาก

Quantitative

คำนวณประมาณเลขม.ต้น พาร์ทนี้คนไทยได้เต็มกันเยอะ แนะนำได้155/170 แต่คนเอเชียส่วนใหญ่มักจะได้160/170กัน ซ้อมๆทำส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา ถ้าจะเรียนสายที่ออกไปทางวิศวะ ควรได้พาร์ทนี้เยอะๆ Verbalน้อยหน่อยก็ไม่เป็นไร

Analytical Writing

พาร์ทเขียน คนไทยส่วนใหญ่คะแนนอยู่ที่2.5-3.5 เป็นพาร์ทที่สำคัญน้อยสุด (แต่อย่ากากเกิน) ค่อนข้างยากมาก เพราะแค่เขียนให้ทันก็อาการหนักแล้ว (1000คำ/40นาที)

การเตรียมตัว

2เดือนอย่างต่ำ 4เดือนกำลังดี หากลาออกจากงานได้ควรลาออกมาอ่าน โดยเฉพาะถ้าหวังจะเข้า Ivy League ตอนนั้นเราอ่านไปทำงานไป3เดือนเพราะไม่มีเงินจะลาออกมาอยู่เฉยๆ คะแนนก็ออกมากลางๆ หากอยากเรียนแนะนำ Kaplan ค่อนข้างแพงอยู่แต่ก็ได้ผลกว่าอ่านเองแน่ๆ

ซื้อหนังสือมาอ่านเองแนะนำ Princton’s Review, Barron’s, Manhattan

51iPIpSEt0L._SX258_BO1,204,203,200_


CV

CVไม่ควรเกิน2หน้ากระดาษเด็ดขาด 3หน้ากระดาษนี่ไม่มีใครอ่านแน่นอน จะลดขนาดฟ้อน เบียดยังไงก็ได้ให้อยู่ใน2หน้า

*** และอย่ายัดอะไรที่ไม่สำคัญมา เช่น เข้าค่ายพุทธบุตร ม.ปลาย เรียนรำไทยเป็นวิชาเลือก และถ้าเป็นอะไรที่แปลกๆ เช่นประกวดแบบ ควรเขียนขยายความด้วย อย่าใส่แค่ Chula Competition 2010 – winner แบบนี้ คนอ่านไม่รู้ว่าไปประกวดแบบอะไรมา

ตัวอย่าง CVที่ดี

http://www.kent.ac.uk/careers/cv/goodbadCV.htm


การสมัครมหาลัย

ให้ดูโปรไฟล์ตัวเองรวมๆ เกรด, TOEFL, GRE, กิจกรรม, CV, SOP, พอร์ท คือถึงอันไหนไม่ค่อยดี ก็เอาอันที่เหลือมาช่วยได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าคะแนนบางอันไม่ดีจะทำให้เราเสียเปรียบ

ควรยื่นประมาณ 6 ที่ คือสูงกว่าความสามารถ(เผื่อฟลุค) 2, ระดับตัวเอง 2, เซฟโซน(ติดชัวร์ๆ) 2 แต่ถ้ารวยก็ สูง 4, กลาง 2, ต่ำ 2

วิธีแยกว่ามหาลัยไหนสูง กลาง หรือต่ำสำหรับเรา ให้เข้าไปดูในเว็บ ส่วนใหญ่จะมีบอกคะแนนเฉลี่ยของคนที่ติดเอาไว้ หรือบางสาขาก็มีไกด์บุคที่รวมสถิติคะแนนพวกนี้อย่างละเอียด อย่างสาขาผังเมืองมีหนังสือชื่อ Planetizen รวมสถิติคนสอบติดของทุกมหาลัยเอาไว้ ราคาประมาณ800บาท (เฉพาะอเมริกาและแคนาดา)

อย่ายื่นน้อยเกินไป เพราะบางที่มหาลัยที่คิดว่าติดชัวร์ก็ปฏิเสธเราได้ เพื่อรักษา%คนสอบติดของมหาลัยให้มันดูดี คือถ้าเขารับหมด มันก็จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ว่ามหาลัยนี้กระจอก ยื่นมากเกินก็เปลืองเงิน ได้เยอะๆเดี๋ยวเลือกไม่ถูก

การสมัครมหาลัย ถ้าเรามีปัญญาไปงาน open house ของมหาลัยนั้นๆได้ จะได้เปรียบกว่าเยอะมาก ….แต่ปัญหาคือไม่มีปัญญาไป ในกรณีของอเมริกา ถ้าอยากได้มหาวิทยาลัยไหนจริงๆ (เอาแบบมากๆ และเอาชัวร์นะครัฟ) ขอแนะนำ WILAWAN EDUCATIONAL SERVICES ของพี่ตุ๊ก ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแถวสามย่าน (คือถ้าใครชอบไปงานOCSC Expoจะเห็นบูธปริศนานี่ทุกปี นี่คือเฉลย) พี่เขาจะรับติดต่อกับมหาวิทยาลัยให้ ขับรถ/นั่งเครื่องบินไปคุยกับกรรมการรับใบสมัคร โดยคิดค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายจากเรา และมหาวิทยาลัยที่มีคอนเนคชั่นจริงๆคือ U of Maryland – College Park ใครจะเอาที่อื่นก็ได้ แต่ที่นี่พี่เขาชัวร์สุด และรับทำปีหนึ่งไม่กี่เคสเท่านั้น ถ้าใครต้องการมหาลัยไหนจริงๆลองติดต่อดูได้


ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายสำหรับการเรียนที่อเมริกาปกติจะประกอบด้วย โดยรวมเราเขียนในกรณีที่มาเรียนเมืองเล็กและ college towns เป็นหลัก กรณีที่ต้องการไปเมืองใหญ่ให้คูณค่าใช้จ่ายประจำเดือน จิปาถะอะไรไปอีกประมาณ2เท่า

  1. ค่าเทอม สำหรับระดับป.โทและเอก มหาวิทยาลัยรัฐบาลชื่อดัง ค่าใช้จ่ายจะตกประมาณปีละ $22,000 มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง อยู่ที่ปีละ $43,000 (ก.ค. 2017)
  2. ค่ากินอยู่ ขึ้นอยู่กับเมืองโดยจะอยู่ที่ $1,100 – $3,000 ต่อเดือน (อ้างอิงจาก ก.พ. ซึ่งบางเมืองให้เยอะก็พอ บางเมืองก็โอเค หรือบางเมืองอย่างนิวยอร์ค บอสตันที่ก.พ.ให้แค่ $1,750ซึ่งโคตรไม่พอ ใครจะไป2เมืองนี้ควรมีมากกว่า $2,500 ต่อเดือน) สำหรับเมืองเล็ก (ขนาดประมาณโคราช) $1,200 นี่คืออยู่คนเดียวได้แต่แทบไม่เหลือเก็บ อาจจะต้องทำงานเพิ่มด้วยเพราะถ้าเดือนไหนมีของอะไรพังก็ไม่พอทันที ถ้าจะประหยัดมากๆ เช่นยอมอยู่กับรูมเมท 4 คน ครัวรวม ห้องน้ำรวม ข้าวทำกินเองกินแต่ข้าวราดแกง3มื้อติดได้ แบบนี้ $800 ก็พออยู่ได้
  3. ค่าใช้จ่ายอื่น มีสองส่วน ส่วนแรกคือค่าเตรียมตัวก่อนมาและตอนกลับ ค่ามัดจำบ้าน เสื้อผ้า รวมค่าติวสอบอะไรด้วย ตอนนั้นเราใช้ไปประมาณ 300,000 บาทไทย หรือ $9,000 ค่าเตรียมตัวกลับ มีค่าขนของ น่าจะใช้ประมาณ $1,000 ส่วนที่สองคือค่าใช้จ่ายจิปาถะรายเดือน เช่นค่าหนังสือ ค่าหาหมอ ค่าเสื้อผ้า ค่าปรับ ฯลฯ ต้องใช้ประมาณ $100 ต่อเดือน เฉลี่ยๆกันไป บางเดือนอาจจะไม่มีเลย บางเดือนก็มีเยอะมาก หากเป็นเมืองใหญ่จะแพงกว่านี้อีก

อีกข้อที่ควรคำนึงคือสภาพอากาศ อย่างกรณีของเราคือมาเมืองหนาวมาก หิมะตก 6 เดือนต่อปี ค่าเสื้อผ้า ไม่แฟชั่นจ๋านับว่าแพงกว่าเมืองอื่นไปหลายเท่า เช่นต้องใช้เสื้อdown jacket ราคา $300++ รองเท้าก็ต้องเป็นบูทหิมะ $150++ หมวกและถุงมืออีก $50++ ทั้งหมดนี้จำเป็นมากเพราะเวลาหิมะตกแล้วมันลื่นจริงๆ

ถามว่าค่าใช้จ่ายเยอะขนาดนี้ ต่อให้ได้ทุนก็อาจจะไม่พอ จะทำยังไงได้บ้าง กรณีของเราก็คือไม่พออยู่ที่ 90% แต่หากไม่ต้องการขอทางบ้านเลยก็มีทางหารายได้เพิ่มดังนี้

  1. เป็น TA/RA/PA ไปช่วยอาจารย์สอน บางแห่งถ้าสอนถึงกี่ชม.ก็จะได้รับยกเว้นค่าเทอมและได้ค่าใช้จ่ายมาด้วย ข้อเสียก็คือสมัครยาก ขนาดฝรั่งยังแย่งกัน หากภาษาไม่ดีก็จะลำบากหน่อย แต่สำหรับใครที่ต้องเป็น TA/RA/PAให้ได้ ไม่งั้นไม่มีเงินเรียนต่อ ให้บอกอาจารย์และภาควิชาไว้ตั้งแต่วันแรกเลย เขาจะได้ช่วยเราได้
  2. ฝึกงาน(แบบได้ตังค์) ฝึกงานในอเมริกาส่วนใหญ่จะได้เงินพอตัว ดังนั้นซัมเมอร์ก็เป็นโอกาสที่จะใช้เวลา 4 เดือนว่างๆของเรานั้นไปหาตังค์มาชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ต้องออกเองไป ในกรณีของเรา ไม่ต้องขอที่บ้านเพราะเงินส่วนนี้ ข้อเสียคือสมัครยากมากๆ เพราะข้อเสียเปรียบเรื่องภาษาและต้องแข่งกับเพื่อนร่วมชั้นเราด้วย (คนอเมริกันส่วนใหญ่กู้เงินเรียน และรับผิดชอบตัวเอง) ตอนสมัครให้เน้นยื่นเยอะๆไว้ก่อนเพราะโอกาสได้มันยากจริงๆ
  3. ทำงานกับมหาวิทยาลัย บางที่มหาลัยก็มีโครงการแปลกๆเช่นส่งผักตามบ้านคน เราก็ไปสมัครขอทำได้ แต่ข้อเสียคือเงินก็น้อยกว่าและต้องทำงานนอกมหาลัยซึ่งบางทีก็ไกล
  4. ทำงานร้านอาหารไทย จริงๆผิดกฎหมาย ไม่แนะนำให้ทำ

คำถามที่พบบ่อย

ชื่อมหาวิทยาลัยมีผลแค่ไหน

ได้ที่ดังๆก็ถือว่าดีแต่อย่าไปยึดติดกับมันมาก ข้อดีของมหาวิทยาลัยดังคือ อุปกรณ์ สถานที่ และอาจารย์ดี สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียน ยิ่งถ้าไปเรียนออกแบบ มหาลัยดังๆก็มีงบเยอะ เราก็ทำอะไรแปลกๆได้มาก แต่ข้อเสียที่ตามมาคือค่าเรียนก็แพงมากด้วย แพงกว่ามหาลัยรัฐบาลดัง แต่ไม่ได้เป็น Top 5-10 ประมาณ2.5เท่า รวมถึงค่าเตรียมตัวสอบก่อนเข้าก็ต้องมากตามไปด้วยเพราะคะแนนTOEFL GREอะไรต่างๆก็ต้องดีกว่าปกติมากด้วย ดังนั้นถ้าสอบได้ทุนฟรีที่ออกให้หมดแล้วเข้าได้ก็ควรเรียน แต่ถ้าเป็นทุนไม่เต็มจำนวน ได้ Ivy แบบที่ต้องออกเอง กับมหาลัยรองลงไปได้ทุนมหาลัยมาสมทบด้วยไม่ต้องออกเองก็ควรจะเลือกอย่างหลัง เพราะสาขาสถาปัตย์ไม่ใช่ MBA ถ้าใครคิดว่าเรียนจบโทมาแล้วควรได้เงินเดือนเยอะได้ค่าเรียนคืนกลับมา การลงทุนเลือกมหาลัยดังสำหรับสาขานี้ไม่น่าจะใช่ทางออก เพราะลองคิดว่า ลงทุนเรียนสถาปัตย์จบกลับมาก็น่าจะต้องเปิดออฟฟิศเอง หรือ ทำงานบริษัทใหญ่ ซึ่งทั้งสองทางไม่มีทางทำเงินได้เป็นร้อยล้านบาทแบบ MBA แน่นอน จึงไม่ควรทำให้ตัวเองเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น (เก็บเงินไปเปิดบริษัทในไทยได้ที่นึงเลย ค่าเรียนที่ประหยัดไปได้)

แต่ถ้าไม่มีปัญหากับค่าเล่าเรียนเลยก็สนับสนุนให้เรียนมหาวิทยาลัยดัง น่าจะได้ทำงานแปลกๆ ทันสมัย มากกว่า

ค่าเตรียมตัวก่อนไปประมาณเท่าไหร่

อย่างถูกที่สุดควรเตรียมไว้ที่ 3 แสนบาท สำหรับสอบ TOEFL 3 ครั้ง GRE 2 ครั้ง ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า ค่าทำพอร์ท ปรินท์พอร์ต ค่าapproveใบปริญญาเรา ซึ่งบางมหาวิทยาลัยขอด้วย อยู่ที่ 7,000 บาท ค่าสมัครมหาวิทยาลัย 6 ที่ ค่าเสื้อผ้า กระเป๋าก่อนเดินทาง และค่าจองหอพักเดือนแรก

และอีกประมาณ 5 หมื่นบาท เป็นค่าตั้งตัวตอนไปถึง เพราะถ้าไปคนเดียว ไม่มีคนรู้จักเลย อย่างน้อยก็ต้องซื้อ ที่นอนพร้อมเครื่องนอน โต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องครัวใหม่ทั้งหมด

11 thoughts on “ทุนสถาปัตย์

    1. ดีใจที่ชอบค่า ^ ^ จุดประสงค์ที่เขียนเพราะบทความที่หาอ่านในเน็ตบางจุดยังขาดอยู่ อย่างGRE เลยพยายามเขียนเติมให้ครบ

  1. อ่านแล้วเข้าใจด้านการเรียนต่อมากขึ้นเลยค่ะ
    แต่ขอรบกวนสอบถามหน่อยนะคะ
    พอดีได้เกรด 2.97 นี่พอมีลุ้นทุนไหนบ้างหรือเปล่าคะ

    1. อันนี้คือเรียนจบแล้วใช่มั้ยคะ แบบเพิ่มเกรดไม่ได้แล้วแน่ๆ งั้นทางออกน่าจะเป็นทุนกพและทุนมง(รัฐบาลญี่ปุน)ค่ะ ทุนกพคณะที่สมัครต้องเป็นสายวิทย์นะคะ ต่ำสุด2.75 ส่วนทุนมงอาจจะต้องไปสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นให้ได้เยอะๆค่ะ เพราะยิ่งได้ระดับสูงยิ่งลดเกรดขั้นต่ำได้เยอะ ต้องลองไปอ่านระเบียบดู ถ้าผ่านเข้าไปสัมภาษณ์ก็ต้องลุ้นมากๆอะค่ะ เพราะถ้าเจอคนเกรดดีกว่ามากๆเราจะเสียเปรียบ
      หรืออีกทางคือเรียนโทที่ไทยไปก่อนให้เกรดดีๆ แล้วค่อยขอทุนป.เอก แบบนี้เกรดป.ตรีจะไม่มีผลค่ะ

      1. ขอบคุณมากนะคะที่ช่วยตอบข้อสงสัย
        เรียนจบแล้วค่ะ พอดีสนใจทุนของ เยอรมัน(DAAD น่ะค่ะ)
        แต่ตอนแรกไม่นึกว่าเกรดขั้นต่ำของเขาคือ 3.00 น่ะค่ะ
        ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากนะคะ สามารถนำไปต่อยอดได้มากเลยค่ะ

      2. ยินดีค่ะ มีอะไรถามได้นะคะ ขอโทษด้วยที่ตอบช้า ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้ามาอัพเดทเลยค่ะ

  2. สวัสดีค่ะ อ่านเเล้วได้ประโยชน์มากๆค่ะ ถ้าอยากถามคำถามอื่นที่ลงลึกกว่าเดิม สามารถติดต่อได้ทางไหนบ้างคะ ขอบคุณค่ะ ^^

  3. มิว มีทุนไหนบ้างที่หามหาลัยทีหลังอ่า

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.